บ้านสบเกี๋ยง หมู่ที่ ๓

User Rating:  / 1
PoorBest 

สบเกยง

บ้านสบเกี่ยง    หมู่ที่ 3    ตำบลขุนควร   อำเภอปง   จังหวัดพะเยา    ในอดีตมีการปกครองแบบพี่ แบบน้อง ผู้ที่จะเข้ามารับตำแหน่งเป็นผู้นำชุมชนจะต้องเป็นที่ยอมรับของคนในชุมชน  จะต้องมีบารมีสูง มีกิน มีใช้    มีความรู้และมีคุณธรรม  จริยธรรม และมีศิลธรรม สามารถช่วยเหลือเกื้อกูลคนในชุมชนได้  และเป็นผู้ปฎิบัติให้เห็นเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนได้  เพื่อที่จะให้คนในชุมชนประพฤติปฎิบัติตามได้  การพัฒนาสมัยก่อนทุกคนร่วมไม้ ร่วมมือกันติดตามช่วยเหลือ  ช่วยกันคิด ช่วยกันทำแบ่งสันปันส่วนซึ่งกันและกัน      มีการลงแขกหว่านกล้าทำนาปลูกข้าว  ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน  มีความเคารพในกฎกติกาของชุมชน  มีการนำเรื่องผีปู่  ย่า  ตา  ยาย  มาเป็นเครื่องร้อยรัดบุคคลในชุมชนเอาไว้ เพื่อให้เกิดความรักความสามัคคี   การทำมาหากินเป็นการทำมาหากินแบบยังชีพ  ทำมาหากินเพื่อใช้เลี้ยงปากเลี้ยงท้อง  หากมีมากจนเหลือกินเหลือใช้ก็จะทำการแลกเปลี่ยนกันในชุมชนหรือหมู่บ้านใกล้เคียง  มีทรัพย์กรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์  ดินดำน้ำชุ่มป่าไม้เขียวขจี ในนำมีปลา ในนามีข้าว เข้าป่าได้กินเห็ด  ตกเบ็ดได้กินปลา ไปมาหาสู่ได้สะดวกสบาย   ยามได้เจ็บปวดก็มีสมุนไพรในท้องถิ่นมาช่วยรักษา   มีภูมิปัญญาท้องถิ่นมากมายไว้ถ่ายทอดสู่ลูกหลาน  เมื่อถึงเทศการณ์     งานสงกรานต์   ใกล้วันรอคอยพี่น้องน้อยใหญ่ได้รดน้ำดำหัว  พ่อ  แม่  ปู่  ย่า  ตา  ยาย  ผู้เฒ่าผู้แก่  ผู้หลัก      ผู้ใหญ่  เพื่อระลึกถึงบุญคุณเกื้อหนุนค้ำชู  บูชาบรรพบุรุษผู้ล่วงลับ  ประดับประดาเสื้อผ้าอาภรณ์    นอบน้อมพร้อมเพรียง  เรียบเรียงกล่าวขานแสนสุขสำราญหาค่ามิได้

สถานที่ตั้ง

บ้านสบเกี๋ยงหมู่ที่  3 ตำบลขุนควร  อ.ปง  จ. พะเยา   ได้เริ่มก่อตั้งเมื่อ  พ.ศ 2452 เริ่มแรก   มีเพียงสามหลังคาเรือนอยู่ในการปกครองของบ้านสีพรม  หมู่ที่  4  ตำบลควร  อ.ปง  จ.พะเยา ต่อมามี      ชาวบ้านอพยพมาตั้งถิ่นฐานรวมกันเป็น  12  หลังคาเรือนแยกการปกครองจากบ้านสีพรม มาอยู่ในเขตการ   ปกครองของบ้านวังบงหมู่ที่ 7 ตำบลควร  อ.ปง  จ. พะเยา  โดยมีนายอินต๊ะ  ตามลดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านในขณะนั้น  ต่อมาในปี พ.ศ. 2532 กระทรวงมหาดไทยได้อนุมัติให้แยกหมู่บ้าน จากปกครองของบ้านวังบงเป็นบ้านสบเกี๋ยง หมู่ที่ 12 ตำบล ควร อ.ปง จ. พะเยา โดยมีนาย มูล  ถาวะดี ดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านคนแรก ต่อมาในปี พ.ศ. 2534 ตำบลควรได้แยกเป็นสองตำบล  คือ ตำบลควรและตำบลขุนควร บ้านสบเกี๋ยงอยู่ในเขตการปกครองของตำบลขุนควร หมู่ที่ 3 โดยมีนายเรียบ ตามล  ดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านคนใหม่ ต่อมาในปี พ.ศ. 2537  บ้านสบเกี๋ยงได้รับเลือกการแต่งตั้งผู้ใหญ่บ้านคนใหม่ นายวุ่น ปินตาได้รับการเลือกตั้งและดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 จนถึง พ.ศ. 2547 และนายศรีมูล  ศรีวิชัย ดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านสบเกี๋ยงตั้งแต่ปี 2547จนถึงปัจจุบัน

                        บ้านสบเกี๋ยงมีอานาเขตติดต่อกับเพื่อนบ้านดังนี้

ทิศเหนือ               ติดกับหมู่บ้าน  ดอยไชยป่าแขม

ทิศใต้                   ติดกับหมู่บ้าน  สีพรม

ทิศตะวันออก        ติดกับหมู่บ้าน  สบขาม

ทิศตะวันตก          ติดกับหมู่บ้าน  วังบง

ราษฎรบ้านสบเกี๋ยงอาศัยอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม   โดยคละปนกันไปซึ่งไม่ได้แยกว่าจะอพยพมาจากแหล่งใดก็ตาม   ปัจจุบันมีราษฎรตั้งครัวเรือนอยู่ประมาณ  118  หลังคาเรือน  มีประชากรทั้งหมด   447  คน  เป็นหญิง 226  คน  ชาย  221 คน

ประชากรในหมู่บ้านประกอบอาชีพเกษตรกรรม คิดเป็น  95% ของประชากรทั้งหมด    นอกจากนี้ยังมีการค้าขาย และอื่นๆประมาณ 5%

รายนามผู้เคยดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านสบเกี๋ยง

  1. นายมูล    ถาวดี
  2. นายเรียบ    ตามล
  3. นายวุ่น     ปินตา
  4. นายศรีมูล   ศรีวิชัย
  5. นายวิโรจน์ นาปรัง

ด้านศาสนาและการศึกษา

วัดเป็นศูนย์รวมทางจิตใจ  เป็นที่อบรมสั่งสอนเป็นแหล่งเรียนรู้อดีต และเป็นผู้ที่อยากจะมีการศึกษา   อดีตผู้ชายจะต้องบวชเรียนในวัด  ผู้ชายจึงได้เรียนรู้ทั้งทางโลกและทางธรรม  ถือว่าส่วนมาก      ผู้ชายเป็นผู้นำในสมัยต้นๆ

ศูนย์รวมของหมู่บ้าน

ที่อ่านหนังสือพิมพ์หมู่บ้าน  จำนวน     1    แห่ง

สถาบันองค์กรทางศาสนา   จำนวน     1   แห่ง

สาธารณสุข  มีศูนย์  อสม.  จำนวน     1   แห่ง

                จุดให้บริการถุงยางอนามัย    จำนวน    1   แห่ง

การคมนาคม

มีเส้นทางคมนาคมติดต่อกับอำเภอ  จำนวน  2 สาย คือ 

-สายบ้านสบเกี๋ยง  - สีพรม

-สายบ้านสบเกี๋ยง – วังบง

-มีซอยภายในหมู่บ้าน  จำนวน  8  ซอย

การโทรคมนาคม

               โทรศัพท์สาธารณะ             จำนวน      2    แห่ง

               โทรศัพท์ในบ้าน                 จำนวน      1    แห่ง

                โทรศัพท์มือถือ                 จำานวน   50   เครื่อง

ไฟฟ้าในหมู่บ้าน

               ไฟฟ้ามีใช้ครบทุกครัวเรือน

แหล่งน้ำธรรมชาติ  

         หมู่บ้านสบเกี๋ยงมีแหล่งน้ำที่ไหลตามธรรมชาติ   มีทั้งหมดจำนวน   5  สาย  ดังนี้

    1. ห้วยต้นมื่น

2. ห้วยเกี๋ยง

3. ห้วยตาว

4. ห้วยนาหน้อย

5. ห้วยน้ำขุ่น

             

แหล่งน้ำที่สร้างขึ้นเอง

หมู่บ้านสบเกี๋ยง  มีแหล่งน้ำที่สร้างขึ้นเอง  มีจำนวนทั้งสิ้น  26   บ่อ  โดยแยกเป็น  2  ประเภท ดังนี้

-  บ่อน้ำบาดาล                   จำนวน   9  บ่อ

-  สระน้ำ                            จำนวน   17  บ่อ

ฝายกั้นน้ำ

มีฝายกั้นน้ำตามลำแม่น้ำ     3  แห่ง

ศักยภาพในหมู่บ้าน

            ผู้ใหญ่บ้าน

                                - นายวิโรจน์ นาปรัง

                อาสาสมัครสาธารณสุข  มีจำนวน  7  คน

กลุ่มต่างๆที่หมู่บ้านแต่งตั้งขึ้น (จากประชาชน)

                               - กลุ่มฌาปนกิจศพ            สมาชิก  118  ครัวเรือน

                               - กลุ่มแม่บ้าน                   สมาชิก  118  ครัวเรือน

                                - กลุ่มผู้สูงอายุ                สมาชิก  37    ครัวเรือน

                                - กลุ่มปุ๋ยชีวภาพ              สมาชิก  118  คน

                                - กลุ่มเกษตรกร               สมาชิก  118  คน   (ปุ๋ยนา)

                                - การประปาหมู่บ้าน          สมาชิก  100  ครัวเรือน 

สาธารณประโยชน์ในชุมชน

สะพานในหมู่บ้าน           จำนวน  1    แห่ง

ประปาในหมู่บ้าน            จำนวน  2    แห่ง

บ่อน้ำบาดาล                 จำนวน  9    แห่ง

แหล่งน้ำธรรมชาติ          จำนวน  4    แห่ง

ถนนคอนกรีตในหมู่บ้าน   จำนวน 1    สาย

ถนนดินลูกรัง             จำนวน  7    สาย

ไฟกริ่งในหมู่บ้าน        จำนวน  7    แห่ง

ตู้โทรศัพท์องค์การ      จำนวน  2    ตู้

ที่อ่านหนังสือพิมพ์      จำนวน  1   แห่ง

สถานการณ์ที่คาดว่าจะมากระทบต่อการพัฒนาของชุมชน

                ในด้านดี

                             ผู้คนในชุมชนมีส่วนร่วมในการทำงานร่วมกันจึงส่งผลให้ชาวบ้านมีโอกาสกำหนดแนวทางการพัฒนาตนเองและชุมชน   ทำให้ทุกคนในชุมชนเข้มแข็งและเกิดสันติสุข

               ในด้านไม่ดี

                             -  ด้านวัฒนธรรม              คือ  วิถีชีวิตการกินการอยู่เปลี่ยนไป

                             -  ด้านภูมิปัญญา              คือ  การคิดค้นความสัมพันธ์หรือการเชื่อมโยงเปลี่ยนไป

                             -  ด้านระบบเศรษฐกิจ         คือ  เป็นเศรษฐกิจแบบที่พึ่งพิงและพึ่งพาจึงถูกยุยงส่งเสริมได้ง่าย

                             -  ด้านระบบรัฐ                 คือ  ไม่ทราบสาเหตุของปัญหาที่แท้จริง

            -  ด้านสังคม                    คือ ขาดการเกื้อกูล   ขาดการปฏิสัมพันธ์ระบบกฏเกณฑ์ 

จุดเด่นของหมู่บ้าน

                     หมู่บ้านมีศักยภาพในการพัฒนาหลายๆด้านคือ

ด้านภูมิประเทศ

บ้านสบเกี๋ยงตั้งอยู่บนเส้นทางการคมนาคมที่สะดวก   เป็นศูนย์กลางในการติดต่อกับ   เพื่อนบ้านได้ดี  ซึ่งสามารถเดินทางผ่านไปท่องเที่ยวได้คือ  ถ้ำผาตั้ง  ฝายวังจัน  ตาดซาววา  และมีแม่น้ำควรไหลผ่าน

               ด้านพื้นที่

                 เป็นพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำ  เหมาะแก่การทำอาชีพเกษตรกรรม  โดยเฉพาะการทำนา  ยาสูบ  ปลูกข้าวโพด  สามารถพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางของการค้าได้

               ด้านศักยภาพ

                   หมู่บ้านสบเกี๋ยงมีผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล    มีกลุ่มพลังมวลชนต่างๆมีอาชีพหลัก  คือการทำนา  มีสถาบันการเงินของชุมชน

               ด้านวัฒนธรรม

                   มีการใช้วิถีแบบชาวพุทธ  เกื้อกูลซึ่งกันและกัน มีปราชญ์ชาวบ้านมีการสืบสานวัฒนธรรมประเพณีทั้งการสะเดาะเคราะห์  สืบชะตา บูชาเทียนไฟอยู่ประจำ

รายนามผู้เคยดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านสบกี๋ยง

                                นาย มูล  ถาวะดี

                                 นาย เรียบ  ตามล

                                นาย วุ่น  ปินตา

                                นาย ศรีมูล  ศรีวิชัย

สภาพเศรษฐกิจ

อาชีพของประชากรหมู่บ้าน  ทำนา  เลี้ยงสัตว์  ปลูกพืชสวน  รับจ้างทั่วไป  การทำมาหากินแบบอาศัยห้วยหนอง คลอง บึง   เข้าป่าหาเห็ด หาหน่อไม้  ชุมชนมีการผลิตแบบพอเพียง  และเอื้อต่อธรรมชาติ  โดยจำแนกได้ดังนี้

- ทำนา                 จำนวน      106    หลังคาเรือน

 - เลี้ยงสัตว์           จำนวน        23    หลังคาเรือน

- ทำไร่ทำสวน        จำนวน       90      หลังคาเรือน

- ค้าขาย               จำนวน        3      หลังคาเรือน

- รับจ้าง               จำนวน       35      หลังคาเรือน

ธุรกิจหมู่บ้าน

-ธุรกิจขนาดใหญ่                                     จำนวน                 ไม่มี                                       

-โรงสีข้าวขนาดเล็ก                                 จำนวน              2    ครัวเรือน

- ร้านซ่อมรถเครื่อง  รถไถนาเดินตาม           จำนวน              2    ครัวเรือน

ทุนทางสังคมของบ้านสบเกี๋ยง

ทุนคน / ทุนมนุษย์

ลำดับ ชื่อ- สกุล ความสามารถ ด้าน
1 นายสุข ใจฉลาด ช่างซอ วัฒนธรรม
2 นายคำ กุณา ตีเหล็ก เศรษฐกิจ / อาชีพ
3 นายคำ หมอยาดี หมอเมือง วัฒนธรรม
4 นายอุ่นเรือน กุณา ช่างสร้างบ้าน เศรษฐกิจ/อาชีพ
5 นายปุ่น ตามล ช่างซ่อมรถ เศรษฐกิจ/ อาชีพ
6 นายสุข ศรีพรม หมอเลี้ยงผี วัฒนธรรม
7 นายจันทร์ นาปรัง หมอสู่ขวัญ วัฒนธรรม
8 นายมูล ถาวดี ช่างจ๊อย วัฒนธรรม
9 นางนาค ศรีวิชัย ช่างตัดผม เศรษฐกิจ/ อาชีพ
10 นางสุรีย์ ตามล ช่างทำอาหาร เศรษฐกิจ/อาชีพ
11 นายหวน วังบง ทำเหล้าเสรี เศรษฐกิจ/ อาชีพ
12 นางฟอง นาปรัง จักรสาน เศรษฐกิจ/อาชีพ
13 นายปั๋น หมอยาดี เลี้ยงไก่ เศรษฐกิจ/ อาชีพ
14 นายพูล ปินตา สานแห เศรษฐกิจ/อาชีพ
15 นายจิตร ถาวดี เลี้ยงวัว เศรษฐกิจ/ อาชีพ

ทุนสถาบัน

ลำดับ ชื่อสถาบัน เป้าหมาย ด้าน
1 กลุ่มผู้สูงอายุ ถ่ายทอดภูมิปัญญา วัฒนธรรม
2 กลุ่ม อปพร. รักษาความสบ สังคม
3 กลุ่มแม่บ้าน ช่วยเหลืองานสังคม สังคม
4 กลุ่ม อ.ส.ม. ช่วยงานสาธารณสุข สาธารณสุข
5 กลุ่มฌาปณกิจ ช่วยเหลือด้านการเงิน เศรษฐกิจ
6 กลุ่มเงินล้าน ช่วยเหลือด้านการเงิน เศรษฐกิจ
7 กลุ่มกองทุนรวม ช่วยเหลือด้านการเงิน เศรษฐกิจ
8 กลุ่มสุขาภิบาล ช่วยเหลือด้านการเงิน เศรษฐกิจ

ทุนภูมิปัญญา

ลำดับ ชื่อภูมิปัญญา เป้าหมาย ด้าน
1 พิธีกรรมบายศรีสู่ขวัญ อยู่ดีมีสุข วัฒนธรรม
2 เลี้ยงผี อยู่ดีมีสุข วัฒนธรรม
3 จ๊อย – ซอ ความเพลิดเพลิน วัฒนธรรม
4 รดน้ำดำหัวผู้เฒ่าผู้แก่ ขอขมาและขอพรผู้เฒ่า วัฒนธรรม
5 คาถาเป่าตาแดง เพื่อให้หายจากโรค สุขภาพ
6 คาถาก้างติดคอ เพื่อให้ก้างหลุดออก สุขภาพ
7 คาถาแมลงกัดต่อย เพื่อให้หายเจ็บป่วย สุขภาพ
8 หมอเมือง ถามเรื่องที่อยากรู้ วัฒนธรรม
9 ประเพณีตานข้าวใหม่ เป็นการขอขมาข้าว วัฒนธรรม
10 สลากภัตร สืบสานประเพณี ประเพณี
11 สู่ขวัญควาย เพื่อขมาควาย วัฒนธรรม

ทุนทรัพยากรธรรมชาติ

ลำดับ ชื่อภูมิปัญญา เป้าหมาย ด้าน
1 ป่าสุสาน เผาศพ วัฒนธรรม
2 ป่าชุมชน แหล่งอาหาร สัตว์ป่า
3 ห้วยต้นมื่น เก็บน้ำ การเกษตร
4 สูบน้ำด้วยพลังงานไฟฟ้า น้ำอุปโภค/บริโภค การเกษตร
5 วังปลา อนุรักษ์สัตว์น้ำ สัตว์น้ำ
6 ลำห้วยเกี๋ยง แหล่งน้ำธรรมชาติ การเกษตร
7 ห้วยต๋าว แหล่งน้ำธรรมชาติ การเกษตร
8 ห้วยนาน้อย แหล่งน้ำธรรมชาติ การเกษตร
9 ห้วยน้ำขุ่น แหล่งน้ำธรรมชาติ การเกษตร

footer5