บ้านแสงไทร หมู่ที่ ๙

User Rating:  / 0
PoorBest 

แสงไทร

บ้านแสงไทร   หมู่  9  ต.ขุนควร  อ.ปง จ.พะเยา ในอดีตมีการปกครองเป็นแบบพี่แบบน้อง   ผู้ที่จะเข้ามารับตำแหน่งเป็นผู้นำในชุมชนจะต้องเป็นที่ยอมรับของคนในชุมชนจะต้องเป็นคนที่มีบารมีสูง   มีกินมีใช้มีความรู้และมีคุณธรรม  จริยธรรม  และมีศีลธรรมสามารถช่วยเหลือเกื้อกูลคนในชุมชนได้  เป็นผู้ปฏิบัติให้เห็นเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนได้ เพื่อที่จะให้คนในชุมชนประพฤติปฏิบัติตามได้การพัฒนาสมัยก่อนทุกคนร่วมไม้ร่วมมือ ช่วยกันคิดช่วยกันทำแบ่งสันปันส่วนซึ่งกันและกัน   มีการลงแขกหว่านกล้าดำนาปลูกข้าว  ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน   มีความเคารพในกฎ  กติกา    ของชุมชน  มีการนำเรื่องผีปู่  ย่า  ตา  ทวด        มาเป็นเครื่องร้อยรักบุคคลในชุมชนเอไว้ เพื่อให้เกิดความรักความสามัคคี  การทำมาหากินเป็นการทำมา    หากินแบบยังชีพ  ทำกินทำใช้เพื่อเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง    หากมีมากเหลือกินเหลือใช้ก็จะทำการแลกเปลี่ยนภายในชุมชนเอาไว้  เพื่อเลี้ยงปากเลี้ยงท้องหากมีมากเหลือกินเหลือใช้ก็จะทำการแลกเปลี่ยนภายในชุมชนหรือหมู่บ้านใกล้เคียง  มีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์  ดินดำน้ำชุ่ม  ป่าเขียว  ในน้ำมีปลาในนามีข้าว        เข้าเห็ด ตกเบ็ดได้กินปลา ไปมาหาสู่อยู่กินสบาย ยามใดได้ป่วยก็มียาสมุนไพรช่วยรักษา  ภูมิปัญญาท้องถิ่นมากมาย  ถ่ายทอดสู่ลูกหลาน เมื่อถึงการณ์ปี๋ใหม่  ใกล้วันรอคอยพี่น้องน้อยใหญ่ได้รดน้ำดำหัว  พ่อ  แม่ ปู่  ย่า  ตา  ยาย  ผู้เฒ่าผู้แก่  ผู้หลักผู้ใหญ่ นึกได้ใส่ใจในบุญคุณ  เกื้อหนุนค้ำชู บูชาคุณบรรพบุรุษผู้ล่วงลับ  ประดับประดา  เสื้อผ้าอาภรณ์  นอบน้อมพร้อมเพรียง  เรียบเรียงกล่าวขานแสนสุขสำราญหาค่ามิได้   

หมู่บ้านแสงไทรตั้งอยู่ในหมู่ที่ 9  ต.ขุนควร  อ.ปง  จ.พะเยา  มีอายุได้ประมาณ 31 ปี (พ.ศ. 2549)  เดิมทีแรกก่อนที่จะมาเป็นบ้านแสงไทรนั้นมีอยู่ 12  ครัวเรือน  ซึ่งหน่วยงานราชการโดยฝ่ายกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน  (กอ.รมน.)  เป็นฝ่ายขนย้ายมาจาก  ต.แม่ต๋ำ  อ.ดอกคำใต้  จ.เชียงราย   ซึ่งในสมัยนั้นจังหวัดพะเยายังไม่ได้แยกตัวมาจากจังหวัดเชียงรายจึงยังคงเป็นจังหวัดเชียงรายอยู่  โดยมีการขนย้ายมาตั้งถิ่นฐานอยู่ในปลายปี พ.ศ.2518 ซึ่งในขณะนั้นได้ขึ้นต่อหมู่บ้านสบขาม  หมู่ 8 ต.ควร อ.ปง       จ.เชียงราย  หลังจากที่จังหวัดพะเยา  ได้แยกตัวจากจังหวัดเชียงรายมาเป็นจังหวัดพะเยาโดยสมบูรณ์แล้ว  ตำบลขุนควรก็แยกตัวจากตำบลควรมาเป็นตำบลขุนควร  อำเภอปง  จังหวัดพะเยา   เช่นเดียวกัน  ในขณะนั้นเรียกกันว่าศูนย์อพยพชาวเขาบ้านสบขาม  โดยมีหน่วยงานราชการฝ่ายกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน  (กอ.รมน.)  เป็นฝ่ายดูแล  และได้มีการแต่งตั้งหัวหน้าหมู่บ้านเพื่อเป็นผู้ควบคุมดูแลและติดต่อกับหน่วยงานต่างๆ

                                ปัจจุบันบ้านแสงไทรมีอยู่ 137  ครัวเรือน  ประชากรโดยส่วนมากยังนับถือผีบรรพบุรุษบางส่วนก็นับถือศาสนาคริสต์และอิสลามตามลำดับ และประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม

รายนามหัวหน้าหมู่บ้านเรียงตามลำดับดังนี้

  1. นายตองยิ่ง                    แซ่กือ                     พ.ศ.2518 – 2521
  2. นายจ้งตั๋ว                      แซ่โซ้ง                   พ.ศ.2522 (5 เดือน)
  3. นายเลาเต๋า                    แซ่ย้าง                    พ.ศ.2522 – 2525
  4. นายบล้ง                        แซ่กือ                     พ.ศ.2525 – 2527
  5. นายหงส์แก้ว                  แซ่กือ                     พ.ศ.2527 – 2530
  6. นายจั๊วะเล่า                   แซ่กือ                     พ.ศ.2530 (5 เดือน)
  7. นายมานพ                     แซ่กือ                     พ.ศ.2530 – 2533
  8. นายบุญช่วย                  แซเกือ                    พ.ศ.2533 – 2535
  9. นายสมดุลย์                   วิวัฒน์วิทยา            พ.ศ.2535 – 2537
  10.  นายวีระ                      แซ่จาง                    พ.ศ. 2538 – ปัจจุบัน

ต่อมาปี  พ.ศ. 2539 ได้แยกจากศูนย์อพยพชาวเขาบ้านสบขามมาเป็นหมู่บ้านที่ถูกต้อง  และได้มีการทำสัญชาติไทยให้กับชาวเขากลุ่มนี้ด้วย โดยแยกจากศูนย์อพยพบ้านสบขามมาเป็นบ้านแสงไทร   โดยตั้งอยู่ในหมู่ที่ 9 ตำบลขุนควร  อำเภอปง  จังหวัดพะเยา  และได้มีการเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านคนแรกคือ นายสมบูรณ์   วิวัฒน์วิทยา  ซึ่งได้เป็นผู้ใหญ่บ้านมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2539 – 2549  และในปัจจุบันนี้ นายวีระ แซ่จาง  ได้ดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านคนปัจจุบันอยู่

สภาพทั่วไปปัจจุบัน

  1. ที่ตั้ง

บ้านแสงไทรตั้งอยู่หมู่ที่  9  ตำบลขุนควร  อำเภอปง  จังหวัดพะเยา   มีอาณาเขตติดต่อ  ดังนี้

       ทิศเหนือ              ติดต่อกับหมู่บ้านน้ำริน           ม.10  ต.ขุนควร  อ.ปง  จ.พะเยา

       ทิศใต้                  ติดต่อกับหมู่บ้านใหม่สารภี    ม.11  ต.ขุนควร  อ.ปง  จ.พะเยา

       ทิศตะวันออก        ติดต่อกับห้วยน้ำขาม

     ทิศตะวันตก         ติดต่อกับป่าชุมชนของหมู่บ้าน

  1. ลักษณะภูมิประเทศ

                ลักษณะพื้นที่ตั้งของบ้านแสงไทรเป็นแบบที่ราบภูเขา  พื้นที่ทำมาหากินส่วนใหญ่เป็นภูเขา  พื้นที่   ที่ใช้ในการสร้างที่อยู่อาศัยเป็นพื้นที่ราบ   มีเส้นทางติดต่อกับหมู่บ้านใกล้เคียงโดยทางบก  หมู่บ้านแสงไทรไม่มีแม่น้ำสายใดไหลผ่านจึงไม่มีการคมนาคมทางน้ำ   สภาพดินทั่วไปเป็นดินร่วงปนดินเหนียว

  1. จำนวนประชากร

ประชากรโดยรวมมีเด็ก เยาวาชน  ประชาชน  และผู้สูงอายุรวมแล้วประมาณ 1,320  คนโดยไม่แย

ชายหญิง จำนวน

ครัวเรือน   137  ครัวเรือน

สภาพเศรษฐกิจ

               อาชีพส่วนใหญ่ของประชากรในหมู่บ้านประกอบไปด้วย  การทำไร่  ทำนา  ปลูกพืชสวน   ค้าขาย   เลี้ยงสัตว์  รับจ้างทั่วไป  และอื่นๆ

               ดังนั้นประชากรส่วนใหญ่จึงประกอบอาชีพเกษตรกรรมพืชที่ปลูกกันมากนั้นมีดังนี้

  1. ไม้ผล  ได้แก่  มะม่วง  ลำไย  มะขาม  และส้มเขียวหวาน
  2. พืชไร่  ได้แก่   ข้าวไร่
  3. พืชเศรษฐกิจ  ได้แก่  ขิง  กะหล่ำปลี  ผักกาดเขียวปลี   และข้าวโพด
  4. ทำนา  พอมีบ้างแต่ก็มีส่วนน้อยของประชากรในหมู่บ้าน

ธุรกิจหมู่บ้าน

                ธุรกิจขนาดใหญ่ไม่มี

                โรงสีข้าวขนาดเล็ก     จำนวน   2   ครัวเรือน

สภาพสังคม

            ประชาชนในหมู่บ้านแสงไทรส่วนมากแล้วจะช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน แบบเครือญาติ  มีการแบ่งปันสิ่งของให้กันและกันอยู่เสมอ  มีน้ำใจไมตรีที่ดีงามต่อกัน     ประชาชนในหมู่บ้านมีวัฒนธรรมประเพณีที่เป็นลักษณะเฉพาะของตนเองและยังมีการผสมผสารกันระหว่างวัฒนธรรมของไทยกับวัฒนธรรม

ของตนเองเข้าไว้ด้วยกันเช่นเดียวกัน ลักษณะวัฒนธรรมของประชาชนในหมู่บ้านแสงไทร ส่วนมากจะเน้นไปในเรื่องความเชื่อที่สืบทอดต่อๆ กันมา และยึดถือปฏิบัติกันมาตลอด   จึงทำให้ประชาชนอยู่ดีมีสุข

ด้านศาสนาและการศึกษา

                วัฒนธรรมและประเพณีเป็นศูนย์รวมทางจิตใจเป็นสิ่งที่ต้องยึดปฏิบัติและสืบทอดต่อกันมาโดยชาวเขามีประเพณี  และการละเล่นที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะเผ่า  ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่ต้องยึดถือและปฏิบัติกันจนถึงปัจจุบันนี้  การศึกษาของชาวเขาได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ  ให้ได้รับการเรียนการสอนเกี่ยวกับภาษไทยเพื่อใช้ในการสื่อสารต่างๆ และได้มีการส่งเสริมลูกหลานให้ได้รับการศึกษาในระดับสูงขึ้นไปเรื่อยๆ เพื่อลูกหลานจะได้นำความรู้ที่ได้นั้นกลับมาพัฒนาชุมชนของตนให้

มีความเจริญก้าวหน้าต่อไป

                - มีที่อ่านหนังสือพิมพ์                     จำนวน   1   แห่ง

                - สถาบันองค์กรทางศาสนา              จำนวน   4   แห่ง (โบสถ์  3 แห่ง และมัสยิด  1  แห่ง)

                แกนวัฒนธรรมประเพณีและคุณค่าของประเพณีที่มีต่อชุมชน

                วัฒนาธรรมประเพณีปีใหม่ของม้งที่สอดคล้องกับศาสนาของชนเผ่ามีสาระสำคัญ         

4  ประการ คือ

  1. เป็นเทศกาลแห่งความสุขและมีกิจกรรมการละเล่นต่าง ๆ  เพื่อสร้างความสัมพันธ์กันในชุมชน
  2. เป็นโอกาสที่จะได้พบปะผู้เฒ่าผู้แก่ และญาติพี่น้องลูกหลานต่างถิ่น
  3. ได้เซ่นไหว้วิญญาณบรรพบุรุษที่ศักดิ์สิทธิ์และถือเคารพกันเพื่อขอบคุณที่คุ้มครองคนภายในครอบครัวแต่ละครอบครัวให้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง
  4. เป็นเทศกาลหาคู่ครองของคนหนุ่มสาว

คุณค่าของประเพณี

            ประเพณีมีคุณค่าที่สำคัญ  คือ  การสอนให้รู้จักรบุญคุณของบรรพบุรุษและสิ่งศักดิ์ที่คุ้มครองและเป็นการแสดงความเคารพต่อผู้เฒ่าผู้แก่และเป็นการสร้างความสัมพันธ์ของคนในหมู่บ้าน

การบริการพื้นฐาน

การโทรคมนาคม

                                - ตู้โทรศัพท์สาธารณะ                     จำนวน   2   แห่ง

                                - โทรศัพท์บ้าน                              จำนวน   1   แห่ง

การไฟฟ้า

                                  มีไฟฟ้าใช้ครบทุกครัวเรือน

มีแหล่งที่สร้างขึ้น

                - บ่อน้ำบาดาล         1    บ่อ

                - สระน้ำ                12   บ่อ

ศักยภาพในหมู่บ้าน

มีกลุ่มแกนนำที่แต่งตั้ง  (จากประชาชน)

                                กลุ่มซิกส์                                               สมาชิก  คน

                                กลุ่มตีเหล็ก                                           สมาชิก  20   คน

                                กลุ่มไม้ผล                                             สมาชิก  28   ครัวเรือน

                                กลุ่มทุนเงินล้าน                                      สมาชิก  123 ครัวเรือน

                                กลุ่มเยาวชน                                          สมาชิก   78  คน

                                กลุ่มแม่บ้าน                                           สมาชิก       ครัวเรือน

                                กลุ่มผู้สูงอายุ                                         สมาชิก   48  คน

                                กลุ่มฌาปนกิจศพ                                   สมาชิก  137 ครัวเรือน

                                กลุ่มเพาะเห็ด                                        สมาชิก  คน

                                กลุ่มยาสมุนไพร                                     สมาชิก  คน

                                กลุ่มผู้ใช้น้ำ                                           สมาชิก  137  ครัวเรือน

สาธารณประโยชน์ในชุมชน

                    ประปาหมู่บ้าน  มีจำนวน  1 แห่ง

                              บ่อน้ำบาดาล                         มีจำนวน    1    บ่อ

                    สระน้ำ                      มีจำนวน 12  บ่อ

                                ถนนคอนกรีตในหมู่บ้าน          มีจำนวน   4   สาย

                                ถนนรุกรังดิน                        มีจำนวน   7  สาย

                                ไฟกิ่งในหมู่บ้าน                    มีจำนวน   8  แห่ง

                                ตู้โทรศัพท์องค์การ                มีจำนวน   2  แห่ง

                                โทรศัพท์บ้าน                       มีจำนวน   1  แห่ง

                                ที่อ่านหนังสือพิมพ์                มีจำนวน   1  แห่ง

สถานการณ์ที่คาดว่าจะมากระทบต่อการพัฒนาชุมชน

ปัญหา

-    ประชาชนในหมู่บ้านไม่ค่อยให้ความสนใจในการสืบทอดวัฒนธรรมและประเพณี

-    ปัญหาการแย่งน้ำและที่ดินทำกิน ทำให้ประชาชนขาดความสามัคคี

-    ปัญหาการขาดแคลนน้ำในการอุปโภคและบริโภค

วิธีแก้ไขปัญหา

-    สร้างจิตสำนึกให้แก่ประชาชนและเยาวชนในหมู่บ้านเกี่ยวกับการสืบทอดวัฒนธรรมและประเพณีของชนเผ่าโดยให้ประชาชนและเยาวชนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ มากขึ้นจนทำให้เกิดความเคยชิน

-    จัดแบ่งที่ดินให้ทุกครัวเรือนได้มีที่ดินทำกิน และมีการทำโฉโนดที่ดินเพื่อป้องกันการแย่งที่ดินกัน และได้มีการสนับสนุนให้ประชาชนได้ใช้ชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำริของในหลวง

-    ได้มีการทำประปาภูเขาเพื่อให้ประชาชนได้ใช้ในชีวิตประจำวัน  และมีการขุดสระน้ำให้ประชาชนได้ใช้ในอุตสาหกรรมการเกษตร

จุดเด่นของหมู่บ้าน

                   ประชากรของหมู่บ้านแสงไทรมีวัฒนธรรมที่ดีงามมีประเพณีและภาษาของชนเผ่าที่สืบทอดต่อกันมานานหลายช่วงอายุคน และมีการละเล่นที่แตกต่างจากชนเผ่าอื่น  ดังนั้นจึงไม่แปลกที่  วัฒนธรรม ประเพณี  ภาษา  และการละเล่นของชนเผ่าจึงเป็นจุดเด่นของหมู่บ้านแสงไทร 

                    เนื่องจากวัฒนธรรม ประเพณี  ภาษา  และการละเล่นของชนเผ่าเป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่างออกไป  เพื่อเป็นการอนุรักษ์ให้คงอยู่และสืบทอดต่อกันไปกลุ่มผู้นำทางบ้านแสงไทรจึงได้กำหนดให้สร้างศูนย์วัฒนธรรมเกี่ยวกับชนเผ่าขึ้น (ได้รับงบประมาณการสร้างศูนย์บ้านแสงไทรจากมูลนิธิสิกขาเอเชีย) ได้จัดให้เป็นห้องสมุดประจำหมู่บ้าน   และยังจัดให้เป็นห้องสมุดเปิดสำหรับเด็ก  เยาวชน  และประชาชน ทั่วไปในตำบลขุนควรและที่อื่นด้วย

การค้นหาทุนทางสังคม

  1. เรื่องทุนคน / ทุนมนุษย์
    ลำดับ  ชื่อ      นานสกุล            ความสามารถ                   ด้าน
  1.        นายป้างเย้ง       แซ่อืก                     หมอผี                                    วัฒนธรรม
  2.        นายจางดั่ง        แซ่จาง                   ตีเหล็ก / ตีมีด                          เศรษฐกิจ / อาชีพ
  3.        นางเฉ้ะ            แซ่โซ้ง                   ฝังเข็ม / นวดแผนโบราณ           สุขภาพ
  4.        นายสุริยัน         จางศิริกูล                ครู                                          การศึกษา
  5.        นายฉาง           แซ่กือ                    หมอยาสมุนไพร                         สุขภาพ
  6.        นายกี๋               แซ่จาง                  จักรสาน                                   เศรษฐกิจ / อาชีพ 
  7.        นายจงชาย        แซ่กือ                   เป่าแคน                                   วัฒนธรรม
  8.        นายหวังกั๋ว        แซ่กือ                    หมอเป่าคาถา                           สุขภาพ
  9.        นายภาณุสิทธิ์     จางศิริกูล               เจ้าหน้าที่สาธารณสุข                 สาธารณสุข
  10.      นางผาสุข        วิวัฒน์วิทยา           เย็บผ้า / ปักผ้า                             เศรษฐกิจ / อาชีพ
  11.      นายสว่าง         พนนาบำรุง            สร้างบ้าน                                    เศรษฐกิจ / อาชีพ
  12.      นายจงซื้อ        แซ่จาง                  หมอตำแย                                   สุขภาพ
  13.      นายสมบูรณ์     วิวัฒน์วิทยา           ร้องเพลงพื้นบ้าน(ภาษาม้ง)            วัฒนธรรม
  14.      นายแจ            วิวัฒน์วิทยา           ค้าขาย                                       เศรษฐกิจ / อาชีพ
  15.      นางจ๊ะ            ซ่จาง                   หมอตำแย                                   สุขภาพ
  16.      นางปัางสัว      แซ่จาง                  เป่าขลุ่ย                                     วัฒนธรรม
  17.      นายชัว           แซ่จาง                 ทำไม้กวาดดอกหญ้า                     เศรษฐกิจ / อาชีพ
  18.      นายเยีย          แซ่ม้า                 ครูสอนศาสนา(คาทอริก)                 ศาสนา
  19.      นายเสาย้อ      แซ่จาง                 ผู้ทำพิธีแต่งงาน                           วัฒนธรรม
  20.      นายจำลอง      วิวัฒน์วิทยา          ปศุสัตว์ในหมู่บ้าน                         เศรษฐกิจ / อาชีพ
  21.      นายตั๋ว           แซ่จาง                ช่างเครื่องเงิน                               เศรษฐกิจ / อาชีพ

  1. ทุนสถาบัน
    ลำดับ          ชื่อสถาบัน            เป้าหมาย                     ด้าน 
    1.            กลุ่มซิกส์                เย็บผ้า / ปักผ้า / เลี้ยงหมู                           เศรษฐกิจ / อาชีพ
    2.            กลุ่มตีเหล็ก           อาชีพเสริม                                                 เศรษฐกิจ / อาชีพ
    3.            กลุ่มไม้ผล             อาชีพเสริม                                                เศรษฐกิจ / อาชีพ
    4.            กลุ่มทุนเงินล้าน  ช่วยเหลือด้านการเงิน                                       เศรษฐกิจ
    5.             กลุ่มเยาวชน        ส่งเสริมด้านกีฬา                                           สังคม
    6.             กลุ่มแม่บ้าน        ช่วยเหลืองานสังคม                                        สังคม
    7.            กลุ่มผู้สูงอายุ         ถ่ายทอดภูมิปัญญา                                       วัฒนธรรม
    8.            กลุ่มฌาปนกิจ       ช่วยเหลือในงานศพ                                       เศรษฐกิจ
    9.            กลุ่มเพาะเห็ด       อาชีพเสริม                                                    เศรษฐกิจ / อาชีพ
    10.          กลุ่มยาสมุนไพร  รักษาโรคต่างๆ                                                  สาธารณสุข
    11.          กลุ่มผู้ใช้น้ำ           บริการด้านต่างๆ ของหมู่บ้าน                            สังคม
    12.          กลุ่ม อสม.            พัฒนาหมู่บ้าน / บริการหมู่บ้าน                         สังคม
    13.          กลุ่ม อ.ภ.ป.ร.      บรรเทาสาธารณภัย                                          สังคม
    14.          กลุ่มศาสนา           สอนศาสนาให้คนเป็นคนดี                              ศาสนา
    15.          กุล่มเย็บปักของมูลนิธิสิกขาเอเชีย     เสริมอาชีพ                         เศรษฐกิจ / อาชีพ
    16.          ศูนย์เด็กเล็กบ้านแสงไทร                    ให้ความรู้แก่เด็ก                การศึกษา   
    17.          ศูนย์วัฒนธรรมการเรียนรู้ชุมชน        สืบสานและสอนวัฒนธรรมม้ง    วัฒนธรรม
  1. ทุนทางปัญญา

ลำดับ      ชื่อภูมิปัญญา                        เป้าหมาย                                               ด้าน             

   1.          เป่าแคน                            พิธีกรรมในงานศพ                             วัฒนธรรม

   2.         เป่าใบไม้(เป่าเติ้น)              เพื่อความสนุกสนาน                            วัฒนธรรม

   3.         หมอยาสมุนไพร                 รักษาโรค                                          สุขภาพ

   4.         คาถา                               รักษาโรค                                          สุขภาพ

    5.        หมอผี                              สู่ขวัญอยู่ดีมีสุข / เรียกขวัญ                 วัฒนธรรม

    6.        หมอดู                              ถามเรื่องที่อยากรู้                               วัฒนธรรม

    7.         จ๊อยม้ง                            ความร่าเริง                                        วัฒนธรรม

    8.         ตีเหล็ก                            ใช้และขาย                                        เศรษฐกิจ/อาชีพ

    9.        จักรสาน                            ใช้และขาย                                       เศรษฐกิจ/อาชีพ

    10.       ปักผ้าดอก / ทอผ้า             ใช้และขาย                                       เศรษฐกิจอาชีพ

    11.       เลี้ยงผีต้นน้ำป่าดง               สร้างขวัญกำลังใจ                              วัฒนธรรม

    12.      โยนลูกข่าง                          เพื่อความสนุกสนาน                          วัฒนธรรม

    13.       ตีลูกข่าง                            เพื่อความสนุกสนาน                          วัฒนธรรม

    14.       เป่าใบไม้                           เพื่อความสนุกสนาน                           วัฒนธรรม           

    15.       เป่าทองแดง                       จีบสาว                                            วัฒนธรรม

    16.       ยิงหน้าไม้                          การแข่งขัน                                       วัฒนธรรม

    17.       หมอจับเส้น                        รักษาโรค                                         สุขภาพ

  1. ทุนทรัพยากรธรรมชาติ

ลำดับ       ชื่อทรัพยากร                        เป้าหมาย                                    ด้าน

    1.         ป่าชุมชน                         อนุรักษ์ป่าไม้                                 ทรัพยากรธรรมชาติ         

    2.        ป่าดงศักดิ์สิทธิ์(ดงเซ้ง)      อนุรักษ์ป่าไม้                                  ทรัพยากรธรรมชาติ

    3.        ป่าสุสาน                          ประกอบกิจกรรม                             วัฒนธรรม

    4.        ป่าฮ๊ะ                              อนุรักษ์ป่าไม้                                  ทรัพยากรธรรมชาติ

    5.        ประปาภูเขา                      ใช้อุปโภค – บริโภค                        คุณภาพชีวิต

    6.        อ่างเก็บน้ำบ้านแสงไทร     ใช้ในการเกษตร                               เกษตร

    7.        ม่อนชมวิว                       แหล่งท่องเที่ยว                                เศรษฐกิจ

footer5